การพังของมีดตัด
(Tool failure) เกิดขึ้นได้3 ลักษณะ
1) การพังเนื่องจากการแตกหัก (Fracture Failure) เกิดขึ้นเนื่องจากแรงในการตัดมีค่าสูงมาก
ทำให้เกิดจากแตกหักทันที โดยเฉพาะในวัสดุเปราะ
2) การพังเนื่องจากอุณหภูมิ (Temperature Failure) เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิในการตัดมีค่าสูง
เกินกว่าที่วัสดุที่ใช้ในการทำมีดตัดจะทนได้ ทำให้เกิดการอ่อนตัวลงและเกิดการเปลี่ยนรูปอย่างถาวร
(Plastic deformation) เป็นผลให้เกิดการสูญเสียคมในการตัด
3) การสึกหรอ (Gradual Wear) การสึกหรอที่ละเล็กละน้อยของคมตัดจะมีผลต่อการสูญเสีย
รูปร่างของมีดตัดและการลดลงของประสิทธิภาพการตัด ที่สภาวะสุดท้ายของมีดตัดจะมีลักษณะ
คล้ายการพังเนื่องจากอุณหภูมิ
การพังเนื่องจากการแตกหักและอุณหภูมิทำให้เกิดสูญเสียการใช้งานของมีดตัดก่อนเวลาซึ่ง
เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาในงานตัด แต่การพังเนื่องจากการสึกหรอนั้นสามารถพิจารณาการใช้งานและ
ยืดอายุการใช้งานของมีดตัดได้
คุณภาพของงานตัดเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเช่นกัน เนื่องจากหากมีดตัดเสื่อมสภาพในระหว่าง
การตัดจะมีผลต่อผิวสำเร็จของชิ้นงานอันเป็นผลให้ต้องมีการปรับผิวชิ้นงานใหม่ ความเสียหายเหล่านี้
สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการเลือกสภาวะการตัดให้มีดตัดค่อยๆสึกหรอมากกว่าที่จะเสื่อมสภาพไป
เนื่องจากการแตกหักหรือจากอุณหภูมิสูง รวมถึงการเปลี่ยนมีดตัดก่อนที่การสูญเสียคมตัดจะเกิดขึ้น
การสึกหรอของมีดตัดเกิดขึ้นสองตำแหน่งบนมีดตัด ได้แก่Top rake face, และ Flank ซึ่งการ
สึกหรอของมีดตัดจะแยกได้เป็น 2 แบบ คือ 1) Crater wear 2) Flank wear ดังแสดงในรูปที่ 1และ 2
ในที่นี้จะใช้มีดตัดคมเดียวในการอธิบายลักษณะการสึกหรอของมีดตัดและกลไก (Mechanism) ใน
การเกิดการสึกหรอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น