การผ่าแบบ (Section )ภาพตัดเป็นการผ่าแบบในจินตนาการเท่านั้น งานจริงจะไม่ถูกตัดผ่าเลย เป็นเพียงแต่คิดว่าผ่าเพื่อต้องการแสดงรายละเอียดภายในของชิ้นงานเท่านั้น ส่วนที่เป็นเนื้อของวัสดุเมื่อถูกผ่าจะแสดงด้วยสัญลักษณ์ลายเส้น (Hatch Patterns) ตามชนิดของวัสดุงานนั้น ๆ ส่วนที่เป็นโพรงหรือรูจะเว้นว่างเอาไว้ (เป็นส่วนที่ไม่ถูกตัด) ดังแสดงในภาพ
ในการเขียนภาพตัดอาจเขียนแสดงรายละเอียดได้ไม่ชัดเจนทั้งหมด ดังนั้นจึงมีการแบ่งชนิดของการเขียนภาพตัดเพื่อแสดงรายละเอียดให้ครบถ้วนและเหมาะสมกับงานแต่ละอย่างได้ดังนี้
1. ภาพตัดเต็ม (Full Section) 2. ภาพตัดครึ่ง (Half Section)
3. ภาพตัดออฟเซต (Offset Section)
4. ภาพตัดพิเศษ (ในหน่วยนี้จะไม่ได้กล่าวถึงภาพตัดชนิดนี้)
ภาพตัดเต็ม
(Full Section) ภาพตัดเต็มเป็นภาพของชิ้นงานที่ถูกแสดงรายละเอียดภายในของภาพไว้เต็มหน้า คือแสดงรายละเอียดไว้เต็มส่วนตามด้านที่มองเห็น
ภาพตัดครึ่ง
(Half Section)
ภาพตัดครึ่งเป็นภาพของชิ้นงานที่ถูกตัดโดยแสดงรายละเอียดของชิ้นงานไว้เพียง
1/ 4 (คือจะตัดชิ้นงานออก 1 ส่วนจากจำนวน 4 ส่วน) ดังนั้นจึงทำให้สามารถมองเห็นชิ้นงานทั้งภายในและภายนอก
ภาพตัดครึ่งนี้ส่วนมากจะใช้ในกรณีที่ต้องการแสดงรายละเอียดให้สามารถมองเห็นทั้งภายในและภายนอกของชิ้นงานส่วนมากชิ้นงานจะมีลักษณะที่สมมาตรกัน ดังแสดงในภาพ
ข้อกำหนดของการเขียนภาพตัดครึ่ง
1.
เส้นที่แสดงการแบ่งครึ่งระหว่างผิวด้านนอกและผิวด้านในจะใช้แสดงด้วยเส้นศูนย์กลางของงาน
2.
เส้นประจะไม่แสดงไว้ในภาพตัดครึ่ง (คือซีกที่ไม่ถูกตัด)
3.
การกำหนดขนาดรูที่มองเห็นเพียงซีกเดียวเราสามารถแสดงหัวลูกศรไว้เพียงด้านเดียวส่วนอีกซีกหนึ่งจะไม่แสดงหัวลูกศร เช่นขนาด ø 24 ดังแสดงในภาพ
4.
แนวเส้นตัดตรงหัวมุมต้องเป็นเส้นหนา (Y) ดังแสดงในภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น