วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ภาพฉาย (Orthogonal Projection)

สิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อความหมายจากผู้ออกแบบชิ้นงานไปสู่ช่างผู้ผลิตงานก็คือแบบงาน (Drawing) แบบงานจึงเป็นสิ่งที่แสดงถึงรูปร่าง ขนาดและรายละเอียดต่าง ๆ ของวัตถุที่ต้องการได้อย่างสมบูรณ์ และประกอบด้วยข้อมูลที่ต้องการทั้งหมดในการผลิตและตรวจสอบงานนั้น แบบงานเป็นสื่อที่เเสดงให้ช่างผู้ชำนาญงานได้รู้ถึงรูปร่างและขนาดของชิ้นงานที่จะทำนั้น โดยจะกำหนดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการทำงานลงในแบบงานนั้นด้วย เช่น วัสดุจองชิ้นงาน ลักษณะงานสำเร็จ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานงานเขียนแบบ ด้วยเหตุนี้ช่างที่ดีจึงจำเป็นต้องสามารถอ่านแบบหรือสร้างแบบงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถอ่านแบบหรือสร้างแบบงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการอ่านแบบได้ถูกต้องตามมาตรฐาน มีหลายวิธีในการที่จะอธิบายรูปร่างของวัตถุหรือชิ้นงานที่ต้องการจะถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง อาจอธิบายโดยคำพูดหรือถ้อยคำแทนการใช้ภาพถ่ายวัตถุนั้น หรืออีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันคือ การแสดงโดยการเขียนรูปภาพของวัตถุที่เรียกกันว่า “ แบบงาน ( Drawing )”

แบบงานมาตรฐานที่ใช้แสดงที่อยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. แบบงานภาพ 3 มิติ
2. แบบงานภาพ 2 มิติ

เมื่อเราจะกล่าวถึงลักษณะของวัตถุแต่ละอย่างแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เรามักจะเปรียบเทียบวัตถุนั้นกับสิ่งอื่นที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่ในวงการช่างซึ่งต้องการคำจำกัดความที่แน่นอนของรูปชิ้นงาน เรามักจะใช้การเปรียบเทียบกับรูปทรงทางเรขาคณิต เช่นทรงกลม ทรงเหลี่ยม ทรงกรวย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการเขียนและการอ่านแบบงาน อีกทั้งยังช่วยให้ช่างสามารถหาวิธีการในการผลิตชิ้นงานนั้นได้ง่ายขึ้นด้วย

ภาพฉาย (Orthographic views)
ภาพฉาย หมายถึง ภาพที่มองจากชิ้นงานจริงฉายไปปรากฏรูปทรงบนระนาบรับภาพ โดยทั่วไปในการเขียนแบบชิ้นส่วนใด ๆ ถ้าจะให้มองเห็นได้ชัดเจนและดูเหมือนจริงนั้นสามารถเขียนได้ด้วยภาพ 3 มิติ ซึ่งแสดงเพียงภาพเดียวก็สามารถมองได้ชัดเจนทั้งสามารถกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ได้และนำไปทำการผลิตได้ด้วย แต่การเขียนภาพ 3 มิติ นั้นกระทำได้ยากต้องใช้เวลาในการเขียนแบบงานต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยหลายอย่าง จึงไม่เหมาะสมที่จะนำวิธีการนี้มาเขียนแบบเพื่อสั่งงานผลิต เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ภาพ 3 มิติ เหมาะสำหรับแสดงรูปร่างและการประกอบกันอยู่ของชิ้นงานในคราวที่จำเป็นมากกว่า
การที่จะเขียนงานให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นสามารถเขียนได้โดยวิธีการมองภาพทีละด้านและนำเอาแต่ละด้านมาเขียนลงบนกระดาษให้สัมพันธ์กัน จะทำให้การเขียนลงบนกระดาษให้สัมพันธ์กันจะทำให้การเขียน ,การแสดงอัตราส่วน ,การแสดงขนาด ,การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยและสะดวกยิ่งขึ้น

การแสดงภาพฉายของแต่ละด้านอย่างอิสระ
จากภาพ  จะเป็นการเขียนภาพแต่ละด้านอย่างไม่มีเกณฑ์ ซึ่งทั้ง 3 ภาพ (A, B , C) จะไม่มีความสัมพันธ์กัน การมองภาพของแต่ละคนก็แตกต่างกันไปทำให้เกิดความสับสนในการอ่านแบบ การที่จะทำให้ภาพมีความสัมพันธ์กันอย่างมีกฏเกณฑ์นั้นสามารถทำได้โดยการกำหนดวิธีการในการวางภาพ

หลักการพื้นฐานของการฉายภาพ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ภาพฉาย หมายถึง ภาพที่มองจากชิ้นงานจริงแล้วฉายไปปรากฏรูปทรงบนระนาบรับภาพดังนั้นการมองภาพแต่ละด้านดังได้กล่าวมาแล้วนั้นคือการมองภาพเพื่อนำไปสู่การฉายภาพนั้นเอง ปกติแล้วแสงที่ฉายผ่านชิ้นงานจะกระทบกับระนาบระนาบรองรับภาพ ภาพที่เกิดขึ้นบนระนาบจะมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นตามระยะหางของระนาบนั้นดังภาพที่ A
แต่การมองภาพเมื่อฉายไปยังระนาบรับภาพในทางเขียนแบบเครื่องกลให้ถือว่าเส้นที่ฉายไปยังระนาบนั้นเป็นเส้นขนานกันทุกเส้น ดังนั้นภาพที่ปรากฎบนระนาบจะมีสัดส่วนสองด้านที่มองเท่ากับของจริงดังภาพ A

ภาพ A ภาพฉายบนระนาบรับภาพ

ภาพที่ B การเกิดภาพบนระนาบ

เมื่อนำระนาบรับภาพของทั้ง 3 ด้าน จากภาพที่มาวางในตำแหน่งที่ถูกต้องระนาบจะมีลักษณะเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมดังภาพ


ภาพการวางตำแหน่งของภาพฉาย

กล่องที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงกล่องในจิตนาการเท่านั้น ซึ่งในการทำงานจริงจะไม่มีให้เห็น การที่เอารูปร่างของกล่องระนาบมาแสดงให้เห็น ก็เพื่อให้มองเห็นความสัมพันธ์กันของแต่ละด้านและให้สามารถเข้าใจถึงความเป็นมาของการฉายภาพเท่านั้น
กล่องระนาบนี้ ระนาบทั้ง 3 จะวางในตำแหน่งที่ถูกต้องโดยทั้ง 3 ระนาบจะวางเป็นมุมฉากต่อกันตามแนวแกน X,Yและ Z โดยจะจินตนาการให้ชิ้นงานที่เราจะฉายนั้นลอยอยู่ระหว่างระนาบทั้ง 3 นั้น ดังภาพที่ 5.4 เมื่อฉายภาพไปยังระนาบทั้ง 3 จะปรากฎเป็นภาพชิ้นงานแต่ละด้านเป็นภาพฉายเส้นตามลักษณะของชิ้นงานแต่ละด้านทั้ง 3 ด้าน จะมีความสัมพันธ์โดยถึงกัน เช่นด้านข้างจะสูงเท่ากับด้านหน้า ด้านบนจะยาวเท่ากับความยาวของด้านหน้า ดังภาพการวางตำแหน่งของภาพฉาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น